ไตและต่อมน้ำเหลือง                                                

                ในร่างกายคนเรามีวิธีการขจัดของเสียอยู่ห้าทางด้วยกัน คือ ผิวหนัง ปอด ไต ลำไส้ และระบบน้ำเหลือง ทั้งหมดนี้ไม่มีระบบใดสำคัญยิ่งไปกว่าระบบน้ำเหลือง ระบบน้ำเหลืองไม่เพียงแต่ทำหน้าที่ดูดซับสารอาหารจากระบบย่อยเพื่อนำไปเลี้ยงเนื้อเยิ่อทั่วร่างกายเท่านั้น

ระบบน้ำเหลืองยังประกอบด้วยเซลล์ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน เซลล์ที่ว่านี้ช่วยคุ้มกันร่างกายไม่ให้เสียหาย ป้องกันโรค ป้องกันความชราภาพ ทั้งยังช่วยดูดซับของเสียสารพิษ ขจัดสารพิษ กำจัดเซลล์ที่ตายแล้ว แบคทีเรียร้าย โลหะหนัก ไวรัส

                สารอาหารและออซิเจน ถูกลำเลียงไปทั่วร่างกายโดยกระแสเลือด แรงบีบของหัวใจทำให้เลือดสามารถผ่านรูเล็กๆของเส้นเลือดฝอยส่งผ่านสารอาหารและออกซิเจน ให้น้ำเหลืองที่อาบรอบเซลล์และรับเอาของเสียจากเซลล์แทน ตอนนี้น้ำเหลืองที่อาบรอบเซลล์ก็เต็มไปด้วยสารพิษ และจะถูกส่งผ่านไปตามท่อน้ำเหลืองเพื่อนำไปกำจัดทิ้ง

ระบบน้ำเหลืองเต็มไปด้วยท่อที่สานกระจายไปทั่วร่างกาย ไม่มีจุดไหนในร่างกายที่ไม่มีน้ำเหลืองสุดท่อน้ำเหลืองก็คือน้ำเหลืองที่อาบรอบเซลล์ และจะถูกรวบรวมเพื่อผ่านสู่ท่อน้ำเหลืองที่ชยายใหญ่ขึ้นไปเรื่อยๆจนถึงต่อมน้ำเหลือง ต่อมน้ำเหลืองที่สำคัญอยู่ที่ต้นขา ขาหนีบ รักแร้และคอ หน้าที่ของต่อมน้ำเหลืองคือการกรองเอาสิ่งแปลกปลอมรวมทั้งเซลล์ที่ตายแล้วทิ้งไป และเป็นแหล่งสร้างภูมิคุ้มกันไว้ต่อสู้กับแบคทีเรีย ไวรัส สารพิษเมื่อน้ำเหลืองถูกทำให้บริสุทธิ์ที่ต่อมน้ำเหลืองแล้ว ก็จะถูกส่งกลับไปหล่อเลี้ยงร่างกายต่อไป

                แรงโน้มถ่วงของโลกมีผลโดยตรงต่อระบบน้ำเหลือง ตาข่ายเล็กๆที่สานไปทั่วร่างกายเหมือนเส้นเลือด แต่มันมีขนาดเล็กกว่ามาก และต่างกันที่เลือดไหลเวียนไปทั่วร่างกายเพราะมีแรงบีบของหัวใจ แต่ระบบน้ำเหลืองไม่มีอวัยวะใดโดยเฉพาะมาสูบฉีด ดังนั้นการทำงานส่งผ่านอาหาร ออกซิเจน และของเสียของมัน ขึ้นต่อแรงโน้มถ่วงของโลกเพียงอย่างเดียว ดังนั้นการเคลื่อนไหวของร่างกายจึงมีผลสำคัญยิ่งต่อระบบลำเลียงของน้ำเหลือง

เมื่อใดระบบน้ำเหลืองทำงานได้ดี ของเสียและสารพิษก็จะไม่ถูกสะสมไว้ในร่างกาย นี่คือคำตอบที่ว่าร่างกายควรมีการเคลื่อนไหว ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และเลือกการโภชนาการที่ถูกต้องไม่ก่อให้เกิดสารสะสมในร่างกายมากเกินไป

                          

                                                                                    

 

 

 

 การปล่อยให้เกิดการหมักหมมของสารพิษต่างภายในลำไส้ใหญ่ก่อให้เกิดโรคต่างๆมากมาย ซึ่งเป็นต้นเหตุของปัญหาสุขภาพกว่า 90 %

                              กลิ่นเหม็นในอุจจาระเกิดจาก

 ก๊าซฮีสตาไมน์  ก่อให้เกิดสารพิษที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้

 ก๊าซแอมโมเนีย , ก๊าซซัลเฟอร์ออกไซต์ สร้างสารพิษทำลายตับไต

 อินดอล,ฟินนอล,ไนโครซาไมน์ ก่อสารพิษสาเหตุโรคมะเร็ง

                    

             

 

ไตและระบบทางเดินปัสสาวะจะทำงานร่วมกัน ไตทำหน้าที่ขับถ่ายของเสียออกจากเลือดในรูปของปัสสาวะ ผ่านระบบทางเดินปัสสาวะ ไตของคนปกติมีอยู่ 2 ข้าง ตั้งอยู่บริเวณใต้กล้ามเนื้อหลังถัดจากซี่โครงลงมา มีหลอดเลือดใหญ่ 2 หลอดเชื่อมโยงอยู่กับไตทั้ง 2 ข้าง คือ หลอดเลือดแดงใหญ่ ซึ่งทำหน้าที่ลำเลียงเลือดดีออกจากหัวใจ และหลอดเลือดดำใหญ่คอยทำหน้าที่ลำเลียงเลือดกลับไปที่หัวใจ

              ไตจะผลิตปัสสาวะขึ้นอย่างต่อเนื่อง และปัสสาวะจะถูกขับผ่านออกทางท่อไต 2 ท่อเชื่อมติดอยู่กับกระเพาะป้สสาวะ จากนั้นเพื่อรอเวลาขับถ่ายออกทางท่อปัสสาวะต่อไป ท่อปัสสาวะของชายและหญิงมีความยาวแตกต่างกัน กล่าวคือท่อปัสสาวะในเพศหญิง จะมีความยาวประมาณ 1 นิ้วครึ่ง ส่วนของเพศชายจะมีความยาวกว่านั้นมาก คือประมาณ 8-9 นิ้ว นอกจากนั้นยังมีระบบที่ซบซ้อนกว่าอีก เนื่องจากท่อปัสสาวะในเพศชายจะต้องผ่านต่อมลูกหมากและต่อมเพศอื่นๆอีก สิ่งที่ถูกขับออกจากต่อมเหล่านี้ถูกนำผ่านท่อปัสสาวะเพื่อออกจากร่างกาย ลักษณะที่มีความแตกต่างนี้ในร่างกายของเพศหญิงและเพศชาย ย่อมหมายถึงปัญหาที่เกิดในระบบทางเดินปัสสาวะก็แตกต่างไปด้วย

ระบบการกรองของเสียของไต นับแต่แรกที่ไตได้รับเลือดในปริมาณมากจากหลอดเลือดแดงใหญ่ทุกๆครั้ง ที่หัวใจเต้นเลือดในอัตรา 20 %จะถูกสูบฉีดจากหัวใจเข้าสู่ไตทั้งสองข้าง ในวันหนึ่งๆจะมีเลือดผ่านเข้าไตประมาณ 300 ครั้งต่อวันทีเดียว

1.ในขั้นแรกได้แก่ การกรอง ของเหลวบางประเภทที่อยู่ในเลือดจะถูกแยกออกจากเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาว รวมทั้งโปรตีนที่อยู่ในเลือด ผ่านเข้าไปในส่วนที่ใช้กรองเรียกว่า โกลเมอรูลัส gloomerulus จากนั้นของเหลวที่ถูกกรองแล้วจะถูกรวบรวมไว้ในส่วนของไตที่มีลักษณะคล้ายท่อยาว ซึ่งส่วนนี้และโกลเมอรูล้สทั้งหลายของไต คือ หน่วยที่ทำหน้าที่ผลิตปัสสาวะซึ่งเรียกว่า เนฟฟรอนส์ nephrons ไตแต่ละข้างจะมีเนฟฟรอนส์อยู่ประมาณ ล้านหน่วย

2.ขั้นตอนที่สองของไต คือ การลำเลียงของเหลวที่ผ่านการกรองแล้วกลับสู่ร่างกาย ซึ่งมีชื่อขบวนการนี้ว่า รีซอพชั่น resorption  หลังจากที่เนฟฟรอนส์ได้กรองของเหลวออกจากเลือดแล้ว เยื่อหุ้มผนังส่วนที่ลักษณะคล้ายท่อของเนฟฟรอนส์ก็จะถ่ายคืนของเหลวในอัตรา 99 %กลับเข้าไปในกระแสเลือด ส่วนที่เหลือนั่นคือของเสียในรูปของปัสสาวะที่ร่างกายต้องกำจัดออกไป

3.ขั้นตอนสุดท้ายในขบวนการฟอกเลือดของไต การ้พิ่มของเสียขนาดใหญ่เกินกว่าที่จะกรองได้ลงในปัสสาวะ โดยที่เยื่อบุผนังของเนฟฟรอนส์จะทำการเปลี่ยนของเสียนี้จากเลือดให้เปนปัสสาวะโดยตรง กระบวนการนี้เรียกว่า ซีครีทชั่น secretion

              มีส่วนผสมอย่างหนึ่งในปัสสาวะที่ร่างกายจำเป็นต้องได้รับคือน้ำ  ร่างกายควรได้รับปริมาณน้ำที่เหมาะสมในแต่ละวัน

โรคนิ่วในไต การก่อตัวของนิ่วที่เกิดขึ้นภายในระบบทางเดินปัสสาวะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้บ่อยมาก และมักก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดมากทีเดียว นิ่วที่เกิดขึ้นภายในตัวไตอาจจะอยู่ที่ไตเช่นนั้นตลอดเวลา หรืออาจจะเคลื่อนลงมาในระบบปัสสาวะพร้อมๆกับการปัสสาวะก็ได้ ถ้าหากนิ่วยังคงอยู่ในที่เดิมตลอดเวลา ก็อาจไม่เกิดอาการใดๆและจะคงอยู่อย่างนั้นแม้แพทย์ก็ไม่อาจตรวจพบได้ แต่บริเวณที่มีนิ่วค้างอยู่ย่อมมีโอกาสติดเชื้อได้ ถ้านิ่วมีการเคลื่อนตัวไปกระเพาะปัสสาวะ นิ่วเหล่านี้อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองขึ้นที่ท่อไต และเกิดการเจ็บปวดอย่างรุนแรง กล่าวคือจะมีอาการเจ็บปวดเริ่มขึ้นที่ใต้ซี่โครงด้านหลัง และแผ่ขยายออกไปทางด้านข้างของช่องท้องเข้าสู่บริเวณขาหนีบ หรือที่อัณฑะในเพศชาย อาการปวดอาจหายไประยะหนึ่งแล้วกลับขึ้นมาปวดอีก โรคนี้มักจะทำให้มีเลือดปนออกมากับปัสสาวะในช่วงที่นิ่วเคลื่อนตัว เกิดจากแง่มุมของนิ่วที่แหลมคมทำให้เยื่อบุผนังของระบบปัสสาวะเป็นแผล

              สาเหตุของการเกิดโรค 90%ของนิ่วที่พบในระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นนิ่วที่เกิดจากแคลเซี่ยม ตามปกติแคลเซียมหลายชนิดสามารถละลายตัวในปัสสาวะได้ และถูกขับออกมาทางปัสสาวะ แต่บางคนจะมีส่วนหนึ่งของนิ่วชนิดนี้ก่อตัวเป็นผลึกจนกระทั่งมีขนาดเท่าก้อนหินเล็กๆ สาเหตุการเกิดนิ่วแคลเซี่ยม ได้แก่ การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ,สภาวะที่ร่างกายขาดน้ำเป็นเวลานาน,ต่อมพาราไทรอยด์ซึ่งมีหน้าที่ปรับระดับปริมาณแคลเซียมให้คงที่มีการทำงานที่ผิดปกติ รวมทั้งการได้รับวิตามิน ดี มากเกินไป

ส่วนนิ่วอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งมีโอกาสเกิดน้อยกว่านิ่วแคลเซียม คือ นิ่วที่เกิดจากกรดยูริค กรดยูริคเป็นส่วนประกอบปกติที่มีในปัสสาวะ แต่ถ้าบางครั้งมีปริมาณมากเกินไปจึงเกิดเป็นนิ่ว และยังเป็นสาเหตุให้คนที่มีกรดยูริคมากเกินไปเป็นโรคปวดบวมและอักเสบตามข้อ โรคเก๊า

โรคต่อมลูกหมากโต ต่อมลูกหมากเป็นอวัยวะที่มีอยู่ในเพศชายเท่านั้น อยู่ตรงส่วนฐานของกระเพาะปัสสาวะโดยจะล้อมรอบหลอดปัสสาวะอยู่มีหน้าที่ผลิตน้ำอสุจิ ในผู้สูงอายุต่อมลูกหมากจะเริ่มโตขึ้นทำให้ไปกดปิดหลอดปัสสาวะเอาไว้และปิดกั้นการไหลของปัสสาวะ ขบวนการนี้จะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ จนผู้ป่วยมารู้เมือตอนต่อมลูกหมากมีขนาดใหญ่แล้ว อาการที่ควรสังเกตุ คือการขับถ่ายปัสสาวะได้น้อยลงกะปริดกะปรอยและกลั้นปัสสาวะไม่ได้ ช่องท้องส่วนล่างจะมีอาการบวมเห็นชัด

               สาเหตุของโรค ส่วนใหญ่มักเกิดจากการเจริญเติบโตที่มากเกินไปของเนื้อเยื่อธรรมดา ซึ่งมีสาเหตุจากความไม่สมดุลย์ของฮอร์โมนในผู้สูงอายุ หรือบางครั้งอาจเกิดจากโรคมะเร็งลำไส้

โรคไตอักเสบ glomerulonepritis  หมายถึงส่วนที่มีการอักเสบที่เกิดขึ้นกับส่วนที่ทำหน้าที่กรอง ของไต โรคนี้เกิดขึ้นได้ในทุกวัย สาเหตุเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันไม่ปกติ อาการที่พบได้ในผู้ป่วย คือ มีเลือดปนออกมากับปัสสาวะ ใบหน้าและข้อเท้าบวม อาการเจ็บคอเนื่องจากติดเชื้อ

โรคซิสท์ที่ไต ซิสมีลักษณะเป็นถุงน้ำ มักไม่ค่อยปรากฏอาการให้เห็นและปกติจะไม่ก่อให้เกิดอันตรายกับไตแต่อย่างไร แต่มีซิสท์บางชนิดซึ่งไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก เรียกว่า โพลีซิสติคดีซีส  ซึ่งเกิดจากพันธุกรรม ซิสท์ชนิดนี้มีอันตรายมาก ถ้าพบควรรีบรับการรักษา ก่อนอายุ 25 ปีจะดีที่สุด

อาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ โดยทั่วไปโรคนี้มักสัมพันธ์กับโรคทางระบบประสาท หรือโรคที่เกิดกับกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ อาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่มักเกิดบ่อยในผู้หญิงที่มีบุตรหลายคน กลไกที่ทำหน้าที่เหมือนลิ้นปิดเปิด หย่อนยานผิดรูปเนื่องมาจากการคลอดบุตรหลายครั้ง

ปัสสาวะรดที่นอนในวัยเด็ก เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ มักเกิดกับเด็กๆอยู่เสมอ อาการดังกล่าวมักเกี่ยวข้องกับจิตใจมากกว่า ลองข้อปฏิบัติดังนี้จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้

   ๐ ให้เด็กดื่มน้ำแต่น้อยในตอนเย็น ประมาณ 1 ถ้วยสำหรับอาหารเย็น จะช่วยลดปริมาณปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะให้น้อยลง

   ๐ ถ่ายปัสสาวะก่อนเข้านอน เพื่อให้กระเพาะปัสสาวะว่าง และสามารถเก็บปัสสาวะเพิ่มได้อีก

   ๐ ปลุกเด็กให้ตื่นขึ้นมาปัสสาวะก่อนที่คุณจะเข้านอน แต่ไม่ควรปลุกเด็กขึ้นมาอีกในตอนดึก

   ๐ อย่าใช้วิธีตั้งนาฬิกาปลุกให้เด็กตื่นขึ้นมาโดยที่แพทย์ไม่ได้แนะนำ

                หากได้ลองปฏิบัติเบื้องต้นนี้แล้วยังคงมีปัญหาอยู่ให้พบแพทย์ เมื่อมีปัญหาดังนี้

  ๐ เมื่อเด็กอายุ 8 ขวบ แต่ยังคงปัสสาวะรดที่นอนอยู่

  ๐ อาการปัสสาวะรดที่นอน เกิดขึ้นเมื่อเด็กสามารถควบคุมการปัสสาวะรดที่นอนในตอนกลางคืนได้แล้ว

  ๐ เด็กมักมีอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในตอนกลางวัน หลังจากที่เคยควบคุมการถ่ายปัสสาวะได้แล้ว กรณีเช่นนี้มักเกิดกับเด็กอายุ 2-3 ขวบ

  ๐เมื่อมีอาการติดเชื้อเกิดขึ้นในระบบทางเดินปัสสาวะ

 

                                                         ตั้งจิวหลง   082-340-2078

                                                                           

 

                                                                      

 Click กลับสู่หน้าร้านจิวหลงเครื่องเทศ jewlong herb&spice